การแบ่งประเภทผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย(ทนาย)ที่ประเทศญี่ปุ่น
สวัสดีครับ ! นากาโอกะครับ
ขั้นตอนการแต่งงาน การหย่า การรับมรดก ขั้นตอนเกี่ยวกับวีซ่าที่ต.ม.ญี่ปุ่น ขั้นตอนการขออนุญาตทำธุรกิจ ขั้นตอนการตั้งบริษัทในญี่ปุ่น ปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน ปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น ปัญหาเกี่ยวกับภาษี ขั้นตอนและปัญหาเหล่านี้อาจจะทำให้ทุกท่านเป็นกังวลใช่ไหมครับ
ท่านอาจจะไม่รู้ว่าควรไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนและปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นได้ที่ไหน อีกทั้งการแบ่งแยกประเภทของผู้เชี่ยวชาญระหว่างไทยและญี่ปุ่นก็แตกต่างกันด้วยครับ
ดังนั้นวันนี้ผมจะขอมาอธิบายให้ทุกท่านทราบครับว่าเมื่อเกิดข้อสงสัยหรือความกังวลต่าง ๆ แล้ว ท่านควรจะไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญประเภทไหน
ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า กฎหมายได้แบ่งแยกประเภทการบังคับใช้เอาไว้สำหรับตอนที่มีการต่อสู้คดีในส่วนของข้อพิพาทและตอนที่ป้องกันไว้ไม่ให้เกิดเรื่องกันระหว่างคู่กรณีครับ
ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการจราจรบนถนนครับ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนท้องถนนก็อาจจะต้องมีการฟ้องศาลและมีการเรียกร้องเงินชดใช้กัน ซึ่งถือเป็นข้อพิพาทที่ต้องต่อสู้กันครับ และในทางกฎหมายก็ได้กำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการแก้ปัญหาข้อพิพาทเหล่านั้นครับ กลับกัน กฎหมายก็ได้กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ท้องถนนต้องเกิดข้อพิพาทกัน เช่น กำหนดความเร็วรถ กำหนดเกณฑ์ไฟจราจร หรือกำหนดเกี่ยวกับใบขับขี่รถครับ
กล่าวคือกฎหมายได้กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเอาไว้แล้วครับ

ที่นี้ระบบที่เมืองไทย “ทนาย” จะเป็นผู้ดำเนินเรื่องทุกอย่างใช่ไหมครับ นอกจากนั้นก็จะมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแต่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพโดยตรงดำเนินการจัดเตรียมแอกสารต่าง ๆ หรือดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ แทนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นข้อพิพาทกัน ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาเช่นนั้นอาจจะขาดความรู้ความสามารถเฉพาะทางในสายงาน และถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นจะถือว่าเป็นผู้ให้คำปรึกษาแบบผิดกฎหมายครับ เพราะในประเทศญี่ปุ่น การจะดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ที่ว่ามาแทนลูกความได้นั้นจะต้องสอบวัดระดับความรู้ผ่านและได้ใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องแล้วจึงจะสามารถทำงานได้ครับ
หากทุก ๆ ท่านกำลังจะขอคำปรึกษาจากใคร แนะนำให้ตรวจสอบดูก่อนนะครับว่าบุคคลผู้นั้นมีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องหรือไม่ ผู้ที่สอบวัดระดับความรู้ผ่านและได้ใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องแล้วจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพติดตัวไว้เสมอครับ
ทั้งนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีระบบทนายที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่เรียกว่า “ทนายเบงโกชิ(弁護士)” และมีอำนาจจัดการและดำเนินเรื่องทางกฎหมายได้ทุกอย่างเช่นกันครับ แต่ไม่ใช่ว่าทนายเบงโกชิทุกคนจะมีความรู้ความสามารถในทุกแขนงวิชาหรือเข้าใจทุกมาตราข้อบัญญัติกฎหมายทั้งหมดนะครับ ว่ากันว่าทนายประเภทนี้จะถนัดสายงานที่ต้องไปติดต่อศาลเพื่อแก้ไขปัญหา ข้อพิพาท การทะเลาะกันระหว่างบุคคล หรือช่วยเหลือคนที่ถูกจับและถูกส่งฟ้องเป็นคดีอาญาครับ เรียกกันว่าเป็นทนายเบงโกชิเป็น “ทนายที่ช่วยจัดการปัญหาหรือข้อพิพาท” ครับ
นอกจากนั้นก็จะมีทนายที่เรียกว่า “ทนายเกียวเซโชชิ(行政書士)” ที่จะดำเนินการช่วยเหลือด้านกฎหมายให้แก่ทุกท่านได้หากปัญหาเหล่านั้นไม่ใช่ปัญหาในเชิงข้อพิพาทครับ ซึ่งทนายเกียวเซโชชิเองก็มีขอบเขตการทำงานที่กว้างมากครับและทนายเกียวเซโชชิแต่ละคนก็มีสายงานที่ถนัดแตกต่างกัน สายงานยอดนิยมก็คงจะเป็นการขอใบอนุญาตทำธุรกิจประเภทต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการญี่ปุ่น การดำเนินขั้นตอนเพื่อขอวีซ่าหรือสถานะผู้พำนักกับทางต.ม.ญี่ปุ่นครับ ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานสดใสทนายความครับ ทางสำนักงานจะถนัดเรื่องการติดต่อและดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ กับต.ม.ญี่ปุ่นครับ อย่างไรก็ตาม ทนายเกียวเซโชชิบางส่วนก็สามารถจัดการข้อพิพาทได้ครับ แต่จะต้องเป็นข้อพิพาทกับทางหน่วยงานราชการญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่สามารถจัดการข้อพิพาทระหว่างบุคคลได้ครับ นอกเหนือจากนั้นก็จะมีทนายเกียวเซโชชิที่ดำเนินการเตรียมเอกสารเพื่อจัดตั้งบริษัทในญี่ปุ่น ร่างจัดทำหนังสือสัญญา ร่างจัดทำเอกสารสำหรับการจัดการข้อมูลหรือความปลอดภัยของบริษัท รวมถึงขั้นตอนเกี่ยวกับมรดก เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ถือเป็นข้อพิพาทหรือการทะเลาะเบาะแว้งใด ๆ ครับ ซึ่งเรียกได้ว่าทนายเกียวเซโชชิก็สามารถจัดการขั้นตอนทางกฎหมายได้หลากหลายเช่นกันครับ
หากจะให้อธิบายประเภทผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วนั้น คงต้องอธิบายได้กันยาวเลยละครับ เพราะที่ญี่ปุ่นมีการแยกประเภทเอาไว้อย่างละเอียดมาก ๆ เช่น การจัดการปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน การจัดการภาษี การขอสิทธิบัตร การจดทะเบียนตั้งนิติบุคคล การจดทะเบียนอสังริมทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละสายงานก็จะมีผู้เชี่ยวชาญแตกต่างกันไปไม่ใช่แค่ทนายเกียวเซโช แต่จะเป็น
- ทนายชาไคโฮเคนโรมุชิ(社会保険労務士)ที่จัดการจัดเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน
- ทนายเซริชิ(税理士)จัดการด้านภาษี
- ทนายเบงริชิจัดการ(弁理士) เกี่ยวกับการขอสิทธิบัตร
- ทนายชิโฮโชชิ(司法書士)ที่จะจัดการจดทะเบียนตั้งนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนอสังริมทรัพย์ ครับ
อย่างที่เรียนให้ทุกท่านทราบว่าที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีการแบ่งประเภทผู้เชี่ยวชาญที่มีใบประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายเอาไว้อย่างชัดเจนและละเอียดแตกต่างกับระบบที่ประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสายงานก็จะต้องศึกษาเพิ่มเติมจนมีความรู้ความสามารถในการทำงานครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านหากท่านต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมายในญี่ปุ่น จะได้เป็นแนวทางในการเลือกว่าควรไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญประเภทไหนเพราะที่ญี่ปุ่นแบ่งแยกไว้ละเอียดนะครับ
หากท่านต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการที่ต.ม.ญี่ปุ่น ขั้นตอนเกี่ยวกับวีซ่า ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัท ขั้นตอนการแต่งงาน การหย่าระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น ยังไงก็สามารถมาปรึกษากับสำนักงานสดใสทนายความได้นะครับ
ขอบคุณทุกท่านมากนะครับที่ให้ความไว้วางใจและสนับสนุนสดใสทนายความครับ
สำนักงานกฎหมาย สดใส โยชิทาเกะ นากาโอกะ
【ที่อยู่】3-9-27 Kamiosaki, Shinagawa-ku, Tokyo 141-0021
【วิธีการเดินทาง】https://goo.gl/maps/QR8vd9rH29jgVt5E8
【เบอร์ติดต่อ】070-5573-4404
