สัญชาติบุตรที่เกิดระหว่างผู้หญิงชาวไทยและผู้ชายชาวญี่ปุ่น และการเลือกสัญชาติ
สวัสดีครับ! ผมนากาโอกะครับ
สำนักงานของพวกเราคอยช่วยเหลือเกี่ยวกับขั้นตอนทางราชการ และการยื่นวีซ่าที่เกี่ยวข้องกับจุดเปลี่ยนของชีวิตคนไทยที่จะอาศัยในญี่ปุ่น ตั้งแต่เกิด เรียน ทำงาน ก่อตั้งธุรกิจ แต่งงาน หย่า เสียชีวิต นอกจากนั้นยังมีงานแปลภาษาญี่ปุ่นและไทยซึ่งในหนึ่งปีมีเคสเข้ามามากกว่า1,500รายครับ
สำหรับวันนี้ ผมจะขอตอบคำถามในหัวข้อที่หลายๆท่านถามกันเข้ามานะครับ

1.กรณีบุตรเกิดระหว่างสมรส
หากเกิดในประเทศญี่ปุ่นและแจ้งเกิดที่อำเภอที่ญี่ปุ่นก็จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น ส่วนสัญชาติไทยจะได้ต่อเมื่อไปแจ้งเกิดที่สถานกงสุลไทยประจำประเทศญี่ปุ่นครับ(เอกสารที่จำเป็นคือทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น(โคเซคิโทฮง)ที่ได้รับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น(ไม่ต้องแปลภาษาไทย)และใบแจ้งการเกิด(ชุทโชโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโฉะ)(ต้องแปลภาษาไทย)) สำหรับการแจ้งเกิดที่สถานกงสุลไทยประจำประเทศญี่ปุ่นไม่มีกำหนดเวลา รับแจ้งเกิดตลอดครับ
.
หากเกิดในประเทศไทยและแจ้งเกิดที่อำเภอไทยก็จะได้รับสัญชาติไทย จากนั้นแจ้งเกิดและยื่นคำร้องสำรองสัญชาติ(ญี่ปุ่น)ไปที่กงสุลญี่ปุ่นประจำประเทศไทยหรือที่ทำการเขตในญี่ปุ่นก็จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่นครับ แต่ว่า การแจ้งเกิดที่สถานกงสุลญี่ปุ่นประจำประเทศไทยหรือที่ทำการเขตในญี่ปุ่นต้องแจ้งภายใน3เดือนหลังคลอดเท่านั้น มิฉะนั้น จะไม่รับยื่นคำร้องรับรองสัญชาติ และหากเกินกำหนด บุตรจะไม่ได้รับสัญชาติญี่ปุ่นโดยทันที แต่ต้องมาญี่ปุ่นด้วยวีซ่าของบุตรชาวญี่ปุ่นและทำเรื่องขอสัญชาติที่สำนักงานยุติธรรมของญี่ปุ่นในระหว่างที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะครับ ขอระวังกันดี ๆ นะครับ
.
2.กรณีบุตรคลอดก่อนสมรส
หากเกิดในประเทศญี่ปุ่น และบิดาชาวญี่ปุ่นรับรองบุตรขณะอยู่ในครรภ์ จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่นทันทีเมื่อคลอดออกมา หากรับรองบุตรหลังคลอด ต้องทำเรื่องขอสัญชาติที่สำนักงานยุติธรรมในระหว่างที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สำหรับสัญชาติไทยจะได้ต่อเมื่อแจ้งเกิดไปยังสถานกงสุลไทยประจำประเทศญี่ปุ่น(เอกสารที่จำเป็นตามที่ระบุในข้อ1)
หากเกิดในประเทศไทย และแจ้งเกิดที่อำเภอที่ไทยก็จะได้รับสัญชาติไทย สำหรับสัญชาติญี่ปุ่น หากบิดาชาวญี่ปุ่นรับรองบุตรขณะอยู่ในครรภ์ จะได้สัญชาติญี่ปุ่นต่อเมื่อแจ้งเกิดและยื่นคำร้องสำรองสัญชาติไปที่สถานกงสุลญี่ปุ่นประจำประเทศไทยหรือที่ทำการเขตในญี่ปุ่นภายใน3เดือนหลังคลอด หากรับรองบุตรหลังคลอด บุตรจะไม่ได้รับสัญชาติไทยทันที แต่ต้องมาญี่ปุ่นด้วยวีซ่าของบุตรชาวญี่ปุ่นและมาทำเรื่องขอสัญชาติที่สำนักงานยุติธรรมของญี่ปุ่นในระหว่างที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะครับ
.
3.กรณีคลอดบุตรหลังการหย่า
หากบุตรเกิดระหว่าง300วันหลังการหย่ากับสามีชาวญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นบุตรชองสามีชาวญี่ปุ่นที่หย่าร้างกัน จึงสามารถรับสัญชาติได้ตามขั้นตอนในข้อ1 แต่หากเป็นบุตรกับชายอื่น และไม่ผ่านกระบวนการทางศาล บุตรก็จะไม่ถูกยอมรับว่าเป็นบุตรของบิดาตามสายเลือด แต่ถูกตัดสินให้เป็นบุตรกับสามีคนก่อน
.
4.กรณีบิดาในทะเบียนบ้านไม่ใช่บิดาที่แท้จริง
ในกรณีที่มีบุตรกับชายอื่นในระหว่างการสมรส บุตรจะไปปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้านของสามีที่ไม่ใช่พ่อที่แท้จริงของบุตร ซึ่งหากต้องการให้บุตรเป็นบุตรของพ่อที่แท้จริง จำเป็นต้องดำเนินการทางศาลว่าบุตรไม่ได้มีความสัมพันธ์กับพ่อตามทะเบียนบ้าน และต้องดำเนินการทางศาลให้พ่อที่แท้จริงยอมรับว่าเป็นบุตรของตนจริง
.
5.การเลือกสัญชาติ
สำหรับลูกครึ่งที่แจ้งเกิดทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นจะได้รับทั้ง2สัญชาติ แต่ก่อนที่จะอายุ22ปี จำเป็นต้องเลือกว่าจะเป็นคนของประเทศไหน สำหรับวิธีการมี2แบบ แบบแรกคือ ทำเรื่องทิ้งสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง แบบที่สองคือ ทำเรื่องเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง สำหรับเด็กผู้ชายที่ถือสัญชาติไทย ถ้าไม่มีหมายเรียกเกณฑ์ทหารของทางกองทัพมา จะไม่สามารถทิ้งสัญชาติไทยได้ หากจะใช้ชีวิตในฐานะคนไทย แค่ทิ้งสัญชาติญี่ปุ่นก็เพียงพอแล้ว แต่หากจะใช้ชีวิตในฐานะคนญี่ปุ่นให้ทำเรื่องเลือกสัญชาติญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียวก่อน จนกว่าหมายเรียกเกณฑ์ทหารจะมาถึงจึงจะสามารถทำเรื่องทิ้งสัญชาติไทย

สำนักงานกฎหมาย สดใส โยชิทาเกะ นากาโอกะ
【ที่อยู่】3-9-27 Kamiosaki, Shinagawa-ku, Tokyo 141-0021
【วิธีการเดินทาง】https://goo.gl/maps/QR8vd9rH29jgVt5E8
【เบอร์ติดต่อ】070-5573-4404
